นกน้อยอุไรพร
วงดนตรีหมอลำที่แสดงตลกได้ดีที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ในการจัดอันดับของ อีสานไกด์ ปี 2555
นกน้อยเริ่มอาชีพร้องเพลงในคณะเพชร พิณทองได้ค่าตัว 10 บาท ต่อมาได้ค่าตัว 20 บาทก็แยกวงตามรุ่นพี่ในวงไปจังหวัดอุดรธานี เมื่อถึงจังหวัดอุดรนกน้อยได้พบกับ ดีเจทิดอาวหลอดและได้ก่อตั้งวงดนตรีลูกทุ่งนกน้อยขึ้น ในปี 2518
นปีพุทธศักราช 2518 วงดนตรี "เสียงอิสาน" นกน้อย อุไรพร ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในวงการ อาวทิดหลอดทุ่มเททั้งแรงเงิน แรงกาย เพื่อผลักดันวงดนตรีของตัวเองให้ได้รับการยอมรับจากประชาชน ที่เรียกว่าวงดนตรีของตัวเองนั้น ก็เพราะว่าขณะนั้นเป็นที่ทราบกันทั่วไปในวงการว่าอาวทิดหลอดกับนกน้อย อุไรพร ได้อยู่กินเป็นสามีภรรยาถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
แต่สิ่งที่อาวทิดหลอดคาดการณ์ไว้กลับไม่เป็นเช่นนั้น วงเสียงอิสานไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนเลย งานจ้างก็มีกระท่อนกระแท่น จนต้องยกวงเดินสายและพากันกลับมาอย่างบอบช้ำ ขาดทุนยับเยิน สมาชิกภายในวงก็เริ่มหนีหาย จนเหลืออยู่ไม่กี่สิบคน เมื่อมานั่งวิเคราะห์สถานการณ์อย่างถ้วนถี่แล้ว เขาจึงค้นพบจุดอ่อนของวง นั่นคือ วงเสียงอิสานเป็นวงดนตรีลูกทุ่งเพียวๆ แสดงจากสามทุ่มตีหนึ่งก็เลิก ต่างจากวงหมอลำที่เล่นกันยันสว่าง และมีลำเรื่องต่อกลอนให้ผู้ชมๆ ได้ทั้งคืน จึงไม่แปลกที่หมอลำใหญ่ๆ อย่างคณะประถมบันเทิงศิลป์ จะมีงานแสดงอย่างล้นเหลือ ในขณะที่เสียงอิสานจับเจ่าเฝ้าสำนักงาน อีกหนึ่งจุดอ่อนที่ค้นพบก็คือ ขนาดของวงเสียงอิสานเล็กเกินไป มีสมาชิกในวงแค่ 40 กว่าชีวิต วงเล็กๆ แบบนี้เจ้าภาพไม่ชอบ เขาชอบจ้างคณะใหญ่ที่มีนักแสดงเป็นร้อย มีรถหลายคัน มีเวทีแสงสีเสียงใหญ่โตมโหฬาร
ส่วนผลงานด้านหน้าเวทีไม่ได้เรื่องจนหมาหลับก็ช่างมัน เมื่อคิดได้ดังนี้แผนการฟื้นฟูกิจการวงเสียงอิสานครั้งใหญ่จึงถูกตระเตรียมในหัวสมองของอาวทิดหลอด เขาประกาศพักวงชั่วคราวเพื่อปรับปรุงใหม่ อันดับแรกสุดคือเรียกหาหัวหน้าวง "นกน้อย อุไรพร" เข้ามาพบเพื่อรับบัญชา ""เจ้าไปหัดร้องหมอลำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ เฮาสิเอ็ดวงใหม่เป็นลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่น ถ้าไม่เช่นนั้นเฮาสู้คณะอื่นบ่ได้"" การตัดสินใจของอาวทิดหลอดถูกต้องที่สุด เพราะหลังจากยกเครื่องปรับปรุงทีมงานการแสดงได้ไม่นานนัก วงดนตรีลูกทุ่งหมอลำคณะเสียงอิสานก็ได้รับการกล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็น
นกน้อย อุไรพร หรือ นางอุไร ฉิมหลวง (สีหวงศ์)
เกิดเมื่อ 11 ตุลาคม 2500 อยู่ที่บ้านจาน ตำบลยางชุมน้อย อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ เป็นศิลปินหมอลำ นกน้อยเป็นบุตรสาวของแม่ผัน สีหวงศ์ เป็นลูกชาวนากำพร้าพ่อ เริ่มต้นการเข้าสู่วงการบันเทิงโดยเข้าประกวดร้องเพลงที่สถานีวิทยุเธอกวาดรางวัลชนะเลิศมาทุกเวที ด้วยคะแนนที่เป็นเอกฉันท์ปราศจากข้อกังขา โดยได้รับการสนับสนุนจากแม่อย่างเต็มกำลังที่มีอยู่ ต่อมาได้มาสมัครกับพ่อนพดล ดวงพร เจ้าของวง เพชรพิณทอง ในตำแหน่งหางเครื่อง และได้เป็นนักร้องของวงในเวลาซึ่งเพลงนกจ๋าได้รับความนิยมสูงสุด ต่อมาชื่อนกน้อย อุไรพรนั้นได้จากการนำเอาเพลงนกจ๋า มาเป็นเหมือนตัวแทนก็คือ นกน้อย และเอาชื่อจริงคือ อุไรมาบวกกับคำสุดท้ายของนามสกุลของนพดล คือคำว่า พร มารวมกันจนกลายเป็นนกน้อย อุไรพรนั่นเอง
นกน้อยเริ่มอาชีพร้องเพลงในคณะเพชร พิณทองได้ค่าตัว 10 บาท ต่อมาได้ค่าตัว 20 บาทก็แยกวงตามรุ่นพี่ในวงไปจังหวัดอุดรธานี เมื่อถึงจังหวัดอุดรนกน้อยได้พบกับ ดีเจทิดอาวหลอดและได้ก่อตั้งวงดนตรีลูกทุ่งนกน้อยขึ้น ในปี 2518
นปีพุทธศักราช 2518 วงดนตรี "เสียงอิสาน" นกน้อย อุไรพร ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในวงการ อาวทิดหลอดทุ่มเททั้งแรงเงิน แรงกาย เพื่อผลักดันวงดนตรีของตัวเองให้ได้รับการยอมรับจากประชาชน ที่เรียกว่าวงดนตรีของตัวเองนั้น ก็เพราะว่าขณะนั้นเป็นที่ทราบกันทั่วไปในวงการว่าอาวทิดหลอดกับนกน้อย อุไรพร ได้อยู่กินเป็นสามีภรรยาถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
แต่สิ่งที่อาวทิดหลอดคาดการณ์ไว้กลับไม่เป็นเช่นนั้น วงเสียงอิสานไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนเลย งานจ้างก็มีกระท่อนกระแท่น จนต้องยกวงเดินสายและพากันกลับมาอย่างบอบช้ำ ขาดทุนยับเยิน สมาชิกภายในวงก็เริ่มหนีหาย จนเหลืออยู่ไม่กี่สิบคน เมื่อมานั่งวิเคราะห์สถานการณ์อย่างถ้วนถี่แล้ว เขาจึงค้นพบจุดอ่อนของวง นั่นคือ วงเสียงอิสานเป็นวงดนตรีลูกทุ่งเพียวๆ แสดงจากสามทุ่มตีหนึ่งก็เลิก ต่างจากวงหมอลำที่เล่นกันยันสว่าง และมีลำเรื่องต่อกลอนให้ผู้ชมๆ ได้ทั้งคืน จึงไม่แปลกที่หมอลำใหญ่ๆ อย่างคณะประถมบันเทิงศิลป์ จะมีงานแสดงอย่างล้นเหลือ ในขณะที่เสียงอิสานจับเจ่าเฝ้าสำนักงาน อีกหนึ่งจุดอ่อนที่ค้นพบก็คือ ขนาดของวงเสียงอิสานเล็กเกินไป มีสมาชิกในวงแค่ 40 กว่าชีวิต วงเล็กๆ แบบนี้เจ้าภาพไม่ชอบ เขาชอบจ้างคณะใหญ่ที่มีนักแสดงเป็นร้อย มีรถหลายคัน มีเวทีแสงสีเสียงใหญ่โตมโหฬาร
ส่วนผลงานด้านหน้าเวทีไม่ได้เรื่องจนหมาหลับก็ช่างมัน เมื่อคิดได้ดังนี้แผนการฟื้นฟูกิจการวงเสียงอิสานครั้งใหญ่จึงถูกตระเตรียมในหัวสมองของอาวทิดหลอด เขาประกาศพักวงชั่วคราวเพื่อปรับปรุงใหม่ อันดับแรกสุดคือเรียกหาหัวหน้าวง "นกน้อย อุไรพร" เข้ามาพบเพื่อรับบัญชา ""เจ้าไปหัดร้องหมอลำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ เฮาสิเอ็ดวงใหม่เป็นลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่น ถ้าไม่เช่นนั้นเฮาสู้คณะอื่นบ่ได้"" การตัดสินใจของอาวทิดหลอดถูกต้องที่สุด เพราะหลังจากยกเครื่องปรับปรุงทีมงานการแสดงได้ไม่นานนัก วงดนตรีลูกทุ่งหมอลำคณะเสียงอิสานก็ได้รับการกล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็น
สุดา ศรีลำดวน
จากพนักงานขายเครื่องสำอางเร่ สู่เส้นเสียง จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก สุดา ศรีลำดวน
suda.jpg (30.34 KiB) เปิดดู 19109 ครั้ง
สุดา ศรีลำดวน เป็นชาวบ้านดู่ ต.หนองไฮ อ.เมือง จ.ศรีษะเกษ มีชื่อจริงว่า บุญมี ขันคำ มีชื่อเล่นว่า " ส้ม " (เพิ่งจะใช้ชื่อเล่นนี้ หลังจากเข้ามาอยู่ในวงการมานานหลายปี) เป็นชาวจ.ศรีสะเกษโดยกำเนิด จากครอบครัวเกษตรกรทำไร่ทำนาที่เจ้าตัวบอกว่า " จนที่สุดในหมู่บ้าน" สุดา ศรีลำดวน ชื่นชอบการฟังและร้องเพลงลูกทุ่งอย่างมาก และชอบที่จะแสดงความสามารถด้านการร้องเพลงของเธอต่อหน้าเพื่อนร่วมชั้นเรียนเป็นประจำ จนในที่สุดครูก็ส่งเป็นตัวแทนโรงเรียนไปประกวดร้องเพลงระหว่างโรงเรียนเป็นประจำจนจบการศึกษา
หลังจบการศึกษา สุดา ศรีลำดวน เดินทางเข้ากรุงเทพ และในที่สุดก็หันจับงานด้านการเดินเร่ขายเครื่องสำอาง ซึ่งชีวิตในช่วงนี้เธอลำบากมาก ถึงกับเคยคิดที่จะฆ่าตัวตาย แต่ในที่สุดก็ผ่านพ้นวิกฤติต่างๆมาได้ ชะตาชีวิตของสุดาเริ่มดีขึ้นหลังจากที่นำเครื่องสำอางมาขายให้กับบรรดานักร้องที่คาเฟ่แห่งหนึ่งชื่อ กาแลกซี่ คาเฟ่ และหลังจากที่แวะเวียนมาที่นี่หลายครั้ง ต่อมาก็ได้รู้จักกับแฟนเจ้าของคาเฟ่ ซึ่งเห็นว่าการเดินเร่ขายเครื่องสำอางเป็นงานที่ลำบาก จึงชวนมาเป็นเด็กเสิร์ฟที่คาเฟ แต่สุดาซึ่งไม่ชอบงานเสิร์ฟ ได้ขอสมัครเป็นนักร้องแทน ซึ่งก็ได้รับโอกาสให้ขึ้นไปร้องทดสอบต่อหน้าแขกที่มาเที่ยวในตอนนั้นเลย และก็ได้รับการชื่นชมจากแขกที่มาเที่ยวอย่างมาก จนได้รับเงินรางวัลมาถึง 3 พันบาท ทำให้เธอได้เข้าเป็นนักร้องประจำของที่นี่นับตั้งแต่บัดนั้น และได้รับคำชมจากแฟนเจ้าของคาเฟ่ว่าเธอเสียงดีกว่านักร้องทุกคนของคาเฟ่แห่งนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น