ด้านจุดเปลี่ยนของหมอลำ ในสังคมไทยถิ่นอีสาน

ด้านจุดเปลี่ยนของหมอลำ ในสังคมไทยถิ่นอีสาน

                1.  พัฒนาการของหมอลำจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
                ชอบ ดีสวนโคก (2554) สัมนาเรื่อง หมอแคน : ภูมิรู้และภูมิปัญญาเชิงคีตศิลป์กับการสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม, เมือวันที่ 4 มิถุนายน 2554 ได้เล่าถึงความเป็นมาของหมอลำว่า

                หมอลำนั้นเริ่มต้นมาจากบุคคลที่มีศีลมีธรรม หมอลำจึงเกิดขึ้นจากกลุ่มคนเหล่านี้องค์ประกอบที่สำคัญของหมอลำคือ

                1.)  ผู้แต่งกลอนลำ
             มาจากวัดจากการบวชเรียนลักษณะของกลอนลำที่แต่งส่วนมากจะมาจากปราชญาชุมชน และมาจาก เชียงขวาง ประเทศลาว สมัยก่อนคนส่วนใหญ่จะเชื่อเรื่องวิญาณนิยม เชื่อเรื่องผี และในวิถีชุมนั้นอยากจะอยู่รอดปลอดภัยจึงต้องทำการบวงสรวง วิงวอนต่อ ผีแถนกลายมาเป็นคนพูดที่มีจังหวะ มีสำเนียงที่เกิดความไพเราะเพื่อให้ผีแถนเกิดความเมตาสงสารจะได้อยู่รอดปลอดภัย และก่อนที่จะเรียกว่า ลำในปัจจุบันนี้ สมัยก่อนนั้นเรียกว่า ขับ

              หมอลำและนักแต่งกลอนลำนั้นสมัยก่อนมาจากพระพุทธศาสนา โดยจากการบวชและได้ลาสิขาบท ออกมาแล้วได้นำนิทานชาดกเวชสันดรออกมาเทศและนำออกเผยแพร่ นำมาพูดจากันในชุมชนแล้วนำไปทำการแสดงเป็นหมอลำ จนเกิดภูมิรู้ ภูมิธรรม ความรู้เหล่านี้เรียกว่า ผญาปัญญาและได้นำไปบอกไปสอนกันจนกลายเป็น ภูมิปัญญาจากความรู้ และจากพระพุทธศาสนา

                2.)  การเกิดลำ
               ลำ คือ สิ่งที่สัมผัส (ก่าย) กันไปยาว ๆ เป็นเรื่องเป็นราว หรืออาจกล่าวได้ว่า ลำ เกิดจากการเล่าเรื่อง กลอนนิทาน (ลำพื้น) พื้น คือ เป็นเรื่องราว ลำพื้นจะลำเพียงคนเดียวส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย และอาจกล่าวไปถึงลำอีกประเภทหนึ่งที่ใช้ปัญญาในการตอบโต้กันคือ ลำผญาหมายถึงเอาปัญญามาสอดคล้องกัน เรียกว่า ลำเกี้ยวผญาและได้พัฒนามาเป็นลำหลาย ๆ คนจนต่อมาได้พัฒนาปรับเปลี่ยนให้ทันยุกต์ทันสมัยขึ้น จนกลายมาเป็น ลำเรื่องต่อกลอนเพราะผู้ฟังอยากมีส่วนร่วมในการแสดงด้วย เนื้อหาส่วนใหญ่แล้วก็ไม่ต่างกับลำพื้นมาก จะลำเป็นเนื้อเรื่องนิทานก็ได้ ลำทางสั้น ลำทางยาว ลำเต้ย เป็นต้น

                จึงสรุปได้ว่า ผู้แต่งกลอนลำนั้นเป็นผู้ที่มีบทบาทมาก จึงเป็นผู้ที่มี ภูมิรู้ ภูมิธรรม และภูมิปัญญา โดยมองในแง่ของคุณธรรมและจริยธรรม ส่วนกลอนลำนั้นเกิดจากพระพุทธศาสนาจากคำสอนจนกลายเป็น ฮิต 12 คอง 14 เกิดจากผู้ที่เคยบวชแล้วสึกออกมาแล้วนำเนื้อหาทางพระพุทธศาสนามาแต่งเป็นกลอนลำ จนถือได้ว่ากลอนลำเป็นจารีตประเพณีของชาวอีสานก็ว่าได้ 
                2.  การเปลี่ยนแปลงของหมอลำกลอนย้อนยุคมาเป็นหมอลำกลอนประยุกต์ (ลำซิ่ง)

                    2.1 ลำกลอนย้อนยุกต์ ในปี พ.ศ. 2508 แม่ครูราตรี ศรีวิไล อายุได้เพียง 14 ปี และได้มีโอกาสออกลำครั้งแรก โดยแม่ครูราตรี ศรีวิไลนั้นลำคนเดียวไม่มีหมอลำฝ่ายชายและไม่มีแคนเป่าให้จังหวะเลย หลังจากนั้นจึงเกิดความภูมิใจในการแสดงในวันนั้นจึงออกลำเรื่อยมา

                    2.2 ลำหมู่หรือลำเรื่องต่อกลอน ในปี พ.ศ. 2552 หมอลำกลอนธรรมดานั้นได้ซบเซาลงมาก โดยมีหมอลำหมู่ และเพลงลูกทุ่งเข้ามาแทนที่หมอลำกลอน แม่ครูราตรี ศรีวิไล จึงได้เปลี่ยนผันตนเองจากเป็นหมอลำกลอนไปเป็นนางหมอลำหมอลำหมู่ ในอายุ 15 ปี

                    2.3 ลำกลอนประยุกต์ (ลำซิ่ง) ในปี พ.ศ.2529 แม่ครูราตรี ศรีวิไลได้กลับมาแสดงลำกลอนธรรมดาเหมือนเดิมเนื่องจาก วงหมอลำหมู่นั้นต้องได้แจงค่าใช้จ่ายกันมากไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ แต่แล้วแม่ครูราตรี ศรีวิไลก็พบว่า ผู้คนซบเซาลงอย่างมากเพราะคนไปสนใจในภาพยนตร์ หมอลำหมู่ และดนตรีลูกทุ่งกันหมด แม่ครูราตรี ศรีวิไล กับพี่ชาย สุนทร ชัยรุ่งเรือง จึงได้ปรับปรุงประยุกต์ เนื้อหาของกลอนลำ ท่วงทำนอง ลีลาท่าฟ้อน ให้ทันสมัยขึ้นกว่าเดิมจนกลายมาเป็นลำกลอนประยุกต์ (ลำซิ่ง) มาจนถึงปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเมื่อ ปี พ.ศ. 2515 ทำให้แม่ครูราตรี ศรีวิไลได้เริ่มเปิดการเรียนการสอนหมอลำแบบเรียนประจำ โดยลูกศิษย์มาสมัครเรียนและเข้ามาอยู่ในความปกครองและการเลี้ยงดูอยู่กินที่บ้านครูผู้สอน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ซึ่งแม่ครูราตรีศรีวิไลได้เล็งเห็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนโดยการได้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายทั้งผู้เรียนแลผู้สอน จึงได้ผลิตสื่อ การเรียนการสอนหมอลำแบบเรียนทางไปรษณีย์ (เรียนด้วยตนเอง) ประกอบการด้วยหนังสือคู่มือบทกลอนลำ และเทป ซีดี วีซีดี ทำนองลำ เมื่อท่องจำกลอนได้ตามหลักสูตรแล้ว ให้เข้ามาฝึกซ้อมท่าทางประกอบการลำโดยเข้ามาพักที่บ้านครู การเรียนทางไปรษณีย์ จึงเป็นการเผยแพร่ให้รวดเร็ว และทั่วถึงกลุ่มผู้สนใจมากยิ่งขึ้น ได้เริ่มสอนทางไปรษณีย์เมื่อ ปี พ.ศ.2537 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน

แม่ครูราตรี ศรีวิไล ได้ใช้บทบาทการแสดงหมอลำเป็นสื่อพื้นบ้านในการรณรงค์เผยแพร่ข่าวสารบ้านเมืองช่วยเหลืองานราชการในโครงการต่าง ๆ อาทิเช่น โครงการวางแผนครอบครัว ส่งเสริมเผยแพร่ประชาธิปไตย  อีสานไม่กินปลาดิบ ต่อต้านโรคเอดส์  ต่อต้านยาเสพติด เชิญชวนท่องเที่ยวไทยและโครงการร่วมคิดร่วมสร้างร่วมร่างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

เนื่องจากแม่ครูราตรีศรีวิไลเป็นทั้งนักแต่งกลอนลำ นักแสดงหมอลำ รวมทั้งเป็นนักอนุรักษ์และพัฒนาทั้งการแสดงและการออกแบบเครื่องแต่งกาย เช่นชุดหมอลำ หางเครื่อง นักดนตรี

การพัฒนารูปแบบการแสดงให้ทันเหตุการณ์ตามยุคตามสมัย  และพัฒนารูปแบบการแต่งกายของนักแสดง โดยการนำเอาผ้าหมี่ ผ้าไหมพื้นบ้านมาประยุกต์ใช้ตัดเป็นทรงให้ทันสมัยตามความเหมาะสม (ภาพรวมจะเน้นการอยู่ในบนพื้นฐานของวัฒนธรรมไทย) จึงเป็นการจูงใจให้ลูกศิษย์นิยมชมชอบในความคิดสร้างสรรค์ของแม่ครูราตรี ศรีวิไล ได้หลั่งไหล เข้ามาเรียนมากมาย รวมทั้งเจ้าภาพจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน มาติดต่อให้แต่งกลอนลำ และนำไปแสดงเผยแพร่ในงานต่าง ๆ เป็นประจำมากมายพอสมควร จนถึงปัจจุบัน

               จุดเปลี่ยนของหมอลำจากการสัมภาษณ์

ในปัจจุบันนี้หมอลำเหลือแต่หมอลำรุ่นเก่าที่สามารถ่ายทอดหมอลำกลอนย้อนยุคได้ดี เพราะหมอลำรุ่นเก่าให้ความรู้ได้ดี สามารถถ่ายทอดและสืบทอดให้หมอลำเป็นสื่อในการเล่าเรื่องได้ และหมอลำรุ่นเก่าก็เหลืออยู่ไม่มากนัก
           ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของการสูญเสียหมอลำ ได้แก่ สถานที่จัดงานคับแคบ ราคาการจ้างแพง คนทะเลาะวิวาท  เวลาหมอลำไปแสดงคนจะชกต่อยกันหน้าเวทีหมอลำตลอด ทำให้ภาพพจน์ของหมอลำเสียหายอย่างมากจึงทำให้คนสนใจจ้างหมอลำน้อยลง

          คนที่จะอนุรักษ์หมอลำก็เหลือน้อยเต็มที่แล้วเหลือแต่หมอลำรุ่นเก่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นการสืบสานกันทางด้านเครือญาติหรือลูกหลานเท่านั้นการสูญเสียวัฒนธรรมของหมอลำรุ่นเก่าไป นั้นอาจเกิดจากการแต่งกายของหมอลำรุ่นใหม่โดยการใส่กระโปงเขินนุ่งน้อยห่มน้อยเป็นต้น

                                                                                 (วัลลภ ศรีธรราษฎร์2554 สัมภาษณ์)


ที่มา :http://www.ratreesrivilai.com/index.php?mo=3&art=41948119


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น