5.ลำพื้น

หมอลำพื้น 


   ภาพประกอบ : http://www.rd1677.com/backoffice
   หมอลำพื้น  เป็นหมอลำที่เก่าแก่ที่สุดในประเภทหมอลำที่ใช้เพื่อความบันเทิง เป็นยุคที่มีการลำให้ความบันเทิงมากขึ้น จนถือเป็นต้นกำเนิดของการลำเพื่อการบันเทิงของหมอลำแบบอื่น ๆ ในยุคหลัง ๆ เมื่อพิจารณาจากรูปแบบการแสดงทำให้เห็นว่าลำพื้นเกิดจากธรรมเนียมการอ่านหนังสือผูกและธรรมเนียมการเทศน์ของพระ  หมอลำพื้นเป็นการลำแบบเล่าเรื่องหรือนิทาน หรือคำสอนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ตัวอย่างลำพื้น ดังนี้

กลอนลำ เรื่องสังข์สินไซ (ตอนพระยากุศราชครองเมือง)
ประพันธ์โดย ราตรี ศรีวิไล  (วาทลำสินไซ-สลับลำพื้น)

(บทที่ 1)

ฮืมบัดนี้...  ข้าจักนบนอบน้อม    ถวายบาทนาโถ
องค์พุทโธธัมโม    และพระสังโฆพร้อม
กายวาจาใจน้อม   คุณครูผู้สอนสั่ง
ขอให้มาเลื่อมกั้ง   บังข้าบัดฮ่าลำ






(บทที่ 1)

ไหว้ทุกก้ำ      อ้อป่องของขลัง
คุณณะอมจังงัง     ให้เลื่อมงำนำยู้
ครูอยู่ในบทเรื่อง     โตแสดงครบคู่
ผองนักปราชญ์ผู้ฮู้    ให้ซูค้ำซ่อยกัน

(บทที่ 1)

บัดนี้บั้น    เปิดป่องฝักตูไข
ลำนิทานสินไซ    ให้ซัดเจนเห็นแจ้ง
การแสดงลำร้อง    ให้เห็นทางแจ้งจ่างป่าง พุ้นเย้อ.......
เปิดฝักตูไขป่องท้าง    ถางหม้องป่องสิลำ

(บทที่ 1)

บัดนี้จักกล่าวก้ำ   เมืองใหญ่เป็งจาล
ตามบทตอนนิทาน   กล่าวมาจาเว้า
ยังมีเหนือหัวเหง้า     ซื่อพระยากุศราช
องค์พระบาทท่อนไท้    ครองสร้างนั่งปรางค์

(บทที่ 1)

มเหสีเอกอ้าง    ซื่อว่าจันฑา
ส่วนน้องสาวพระราชา     ซื่อสุมณฑาน้อง
บ่มีแนวเคืองข้อง    หมองใจจักอย่าง
อยู่ท่างสุขอยู่สร้าง    ปรางค์กว้างข่วงนคร

(ลำพื้น)

จั่งความทุกข์ฮ้อน   บ่เอื้ออ่าวหนหา
ปวงสนมเสนา    ซื่นซมแซซ้อง
เมื่อนั้น เสียงกลองฆ้อง  มโหรีเสพแห่
เสียงลำร้อง สลับแคนแลนแตร่
แลนแตร่ตาลุแลนแลนแตร่แลนแตร่
เสียงกลองฆ้อง   ดังมามอง ๆๆๆ
มอง ๆๆๆมุ่งฮุ่ย
เสียงกลองฆ้อง   ดังมามุ่งฮุ่ย
ฟังเตาะเติ่นตุ้มกลองทุ้มกล่อมกัน   ตึ้มๆๆๆ ตึดตึ้ม ๆๆๆ
เสียงกลองฆ้อง   มโหรีเสพกล่อม
คอยถนอมต่อมตุ้ม    ซุมเซื้ออยู่เย็น

(บทที่ 1)

เว้นวรรคไว้                  ถ้าฟังใหม่กลอนสอง
ยักษ์กุมภัณฑ์หมายปอง   มิ่งสุมณฑาแก้ว
สิขอลาลงแล้ว               บทกลอนโจะก่อน
คอยเบิ่งตอนบัดหน้า        ซิหนากว้างกว่าหลัง
ขอพักยั้ง                      ไว้ก่อนบทตอน
กลอนนิทานสินไซ           ต่อไปยังกว้าง...
ที่มา:http://www.ratreesrivilai.com/index.php?mo=3&art=41948119


ลำพื้นผาแดงนางไอ่ ลำโดย ทองแปน พันบุปผา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น