ประเภทของหมอลำ



           หมอลำ (อีสาน: หมอลำ)(ลาว:ໝໍລຳ) เป็นรูปแบบของเพลงลาวโบราณในประเทศลาวและภาคอีสานของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายอย่าง ตามลักษณะทำนองของการลำ 
           เช่น หมอลำกลอน หมอลำกลอนซิ่ง หมอลำหมู่ หมอลำเพลิน หมอลำทรง หรือหมอลำผีฟ้า หมอลำพื้น ลำผญา หมอลำหมู่ หมอลำเพลิน
1.หมอลำกลอน


    หมอลำกลอน เป็นศิลปะการแสดงที่เก่าแก่อันหนึ่งของอีสานลักษณะเป็นการลำ ที่มีหมอลำชายหญิงสองคนลำสลับกันมีเครื่องดนตรีประกอบเพียงชนิดเดียว คือแคน


2.หมอลำกลอนซิ่ง



   หมอลำกลอนซิ่ง เป็นศิลปะการแสดงของชาวอีสานโดยได้นำเอาศิลปะที่มีมาตั้งแต่เดิมมาดัดแปลงประยุกต์ให้ทันสมัยคือนำเอาหมอลำกลอนซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นการลำประกอบแคนเพียงอย่างเดียวมาประยุกต์เข้าดนตรีชิ้นอื่น ๆ เช่น พิณ เบส และกลองชุด


3.หมอลำหมู่ 


   หมอลำหมู่ หมอลำเพลิน  เป็นการลำที่มีผู้แสดงครบ หรือเกือบจะครบตามจำนวนตัวละครในเรื่องที่ดำเนินการแสดง มีอุปกรณ์ประกอบทั้งฉาก เสื้อผ้าสมจริงสมจังและยังมีเครื่องดนตรีประกอบ

4.หมอลำทรง หรือหมอลำผีฟ้า

ภาพประกอบ : http://board.postjung.com/data/

  หมอลำส่องหรือลำผีฟ้า เป็นหมอไสยศาสตร์หรือหมอผีประเภทหนึ่งที่รักษาด้วยความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนา หมอลำผีฟ้ารักษาผู้ป่วยโดยใช้อำนาจเหนือธรรมชาติของผีฟ้า เพื่อที่จะให้ผีออกจากร่างกายของผู้ป่วย


5.หมอลำพื้น 

ภาพประกอบ : http://www.rd1677.com/backoffice

   หมอลำพื้น  เป็นหมอลำที่เก่าแก่ที่สุดในประเภทหมอลำที่ใช้เพื่อความบันเทิง


         
6. หมอลำผญา
ภาพประกอบ :http://mukdahanlive.com/wp-content/uploads/2015/11/paya.jpg

                ลำประเภทนี้ไม่มีผู้ศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์ แต่หากพิจารณาตามลักษณะแล้วอาจกล่าวได้ว่าน่าจะมีความเก่าแก่ร่วมสมัยกับหมอลำพื้นและหมอลำกลอน




7.หมอลำเพลิน      

               หมอลำเพลิน เป็นหมอลำหมู่อีกประเภทหนึ่ง เป็นการแสดงที่แสดงเป็นคณะ เรื่องที่จะแสดงเป็นเรื่องอะไรก็ได้รวมทั้งเรื่องที่หมอลำหมู่แสดง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น