ศิลปินหมอลำ

แม่ฉวีวรรณ ดำเนิน


ประวัติ

แม่ฉวีวรรณ ดำเนิน หรือ แม่ฉวีวรรณ พันธุ เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ที่บ้านหนองไหล ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันแยกเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ) เป็นบุตรของ คุณพ่อชาลี ดำเนิน และ คุณแม่แก้ว ดำเนิน (เสียชีวิตเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2558 สิริอายุ 103 ปี) อาชีพทำนา ฉวีวรรณเป็นบุคคลที่มีความสามารถโดดเด่น มีไหวพริบปฏิภาณด้านหมอลำที่เฉียบแหลมยิ่งคนหนึ่ง โดยได้รับการฝึกฝนเรื่องหมอลำจากบิดา ญาติ และหมอลำที่มีชื่อเสียงโด่งดังในอดีตหลายท่าน ซึ่งความจัดเจนเรื่องหมดลำที่ฝึกฝนมาตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้เป็นหมอลำที่มีความสามารถสูงทั้งด้านการแต่ง กลอนลำ การคิดท่วงทำนองหมอลำกลอน เขียนกลอนลำ ประดิษฐ์ท่าลำและบทร้องชุดแม่อีสาน ผลงานที่โดดเด่นที่สุด คือ การแสดงชุดดึงครกดึงสาก ประกอบกับเป็นบุคคลที่มีน้ำเสียงไพเราะ มีพลังทำให้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเพชรน้ำหนึ่งของแดนอีสานและได้รับการกล่าวขานด้วยความชื่นชมจากประชาชน ว่าเป็น ราชินีหมอลำ [1] ซึ่งเป็นราชินีหมอลำคนแรกของประเทศไทย
ฉวีวรรณ ดำเนิน ยังเคยเป็นนางเอกหมอลำคณะรังสิมันต์ คู่กับ ทองคำ เพ็งดี คู่พระคู่นาง ที่โด่งดังมากในยุคประมาณปี 2508 - 2513 โดยเฉพาะเรื่อง สีทนมะโนราห์ โดยมีลูกศิษย์ลูกหา เช่น บานเย็น รากแก่น อังคนางค์ คุณไชย ที่ได้รับการยกย่องเป็นราชินีหมอลำเช่นเดียวกัน

ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับ โกมินทร์ พันธุ หมอแคนพื้นบ้าน มีบุตร-ธิดา 2 คน ปัจจุบันทำงานที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม อาจารย์พิเศษที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด และเป็นอาจารย์พิเศษที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น คุณแม่ฉวีวรรณยังได้รับเกียรติใด้ดำรงตำแหน่งกรรมการตัดสินการประกวดต่างๆสำคัญๆของทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น อีกด้วย





นายทองมาก  จันทะลือ (หมอลำถูทา)

   นายทองมาก จันทะลือ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2529 เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือนที่ 3 ปีชวด หรือเกิดวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2476 ณ บ้านเลขที่ 6 บ้านชีท่าม่วง ตำบลชนบท อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น บิดาชื่อ นายสอน จันทะลือ มารดาชื่อ นางสมบูรณ์ จันทะลือ มีพี่น้องร่วมสายโลหิต 8 คน
ที่อยู่ปัจจุบัน   บ้านเลขที่ 156 หมู่ 5 ตำบลเมืองศรี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
การศึกษา   ชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านชีท่าม่วง ตำบลชนบท อำเภอชนบท จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ไม่ได้เรียนต่อเนื่องจาก ขาดแรงงานหลักในครอบครัว

ผลงานดีเด่น- นายทองมาก จันทะลือ มีผลงานการแสดงดีเด่น เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในภาคอีสาน ในวัยเรียนครูทองมาก มีความสามารถทำเครื่องดนตรีพื้นเมือง แข่งขันกับผู้อื่นคือ “โหวด” และเรียนรู้วิธีการเป่าแคน และเป่าใบไม้ ได้ฝึกหัดและศึกษาการเป็นหมอลำกับพระอาจารย์อ่อน อาจารย์คำผาย โยมาและแตกฉานในกลอนลำ ครูทองมาก จันทะลือ แสดงหมอลำครั้งแรกกับหมอลำหญิงชื่ออ่อนตก หมอแคนชื่อนายลัง ได้รับรางวัลชนะเลิศในเรื่องกลอนลำและได้ชนะเลิศหลายครั้งในการประกวด นายทองมาก จันทะลือ ประชาชนเรียก หมอลำถูทา เพราะทำงานเป็นโฆษกชื่อดังของบริษัทโอสถสภา (เต็กเฮงหยู) จำกัดโฆษณาขายยา มียาหม่อง “ถูทา ทาถู แก้วิงเวียน หน้ามืดตาลาย ไปรถลงเรือไปเหนือล่องใต้ ต้องพกยาหม่องมาทาถู....ถูทา”ใช้คำภาษาถิ่นอีสานโฆษณาจนสินค้าติดตาตรึงใจผู้ฟังทำให้ประชาชนเรียก หมอลำถูทา หรือคุณพ่อถูทา มาจนถึงปัจจุบัน

- นายทองมาก จันทะลือ เป็นหมอลำที่ได้การยอมรับและยกย่อง โดยเฉพาะในเรื่องกลอนลำ ความสนุกสนานจากท่าทางลีลา บทบาทของกลอนลำในการร่ายรำ การยักคิ้วหลิ่วตา เป็นที่ถูกอกถูกใจคนดู จนได้รัยการยกย่องเป็นหมอลำชั้นหนึ่งและถ่ายทอดวิชา ความรู้ ด้านหมอลำ หมอลำกลอนให้แกลูกศิษย์และประชาชนทั่วไป
- ปี พ.ศ. 2529 ได้รับการยอย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) - ปี พ.ศ. 2538 (22 - 11 เมษายน 2538) นำคณะหมอลำแสดงเผยแพร่วัฒนธรรมไทย ณ นครแฟรงเฟิร์ด นครเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี
- ปี พ.ศ. 2512 ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี (พรรคอิสระ)
ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว  เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554 นายทองมาก จันทะลือ ได้จากไปอย่างสงบเป็น ที่อาลัยของครอบครัว ลูกศิษย์ ศิลปินแห่งชาติทุกสาขา นับเป็นการสูญเสียทรัพยากรบุคคลผู้ทรงคุณค่าต่อประเทศ แต่ผลงานและคุณงามความดียังคงจารึกไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้และ ยึดเป็นแนวทางปฏิบัติสืบไป


นายเคน ดาเหลา (หมอลำเคนฮุด)

นายเคน ดาเหลา 
 
    เกิดที่จังหวัดอุบลราชธานี  เป็นศิลปินหมอลำอาวุโสชั้นครูระดับแนวหน้าของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีลีลาการลำและน้ำเสียงที่เป็นแบบฉบับของตัวเอง ด้วยการใช้ปฎิภาณไหวพริบโต้ตอบ ทำให้มีชื่อเสียงขึ้นอย่างรวดเร็ว กลอนลำของท่านสมบูรณ์แบบด้วยทำนองแบบอุบลราชธานีที่เรียกว่า “วาดอุบล” ซึ่งมีลีลาการลำการใช้สำนวณกลอนที่เฉียบคมลึกซึ้งน่าประทับใจ เป็นต้นแบบของการลำแม่บท ๓๒ ท่าของอีสาน ทั้งลำทางสั้น ลำทางยาว ลำเต้ยแบบต่างๆ รวมถึงสำนวนผญาแบบอีสานที่มีคารมคมคายไพเราะน่าฟัง มีมุขตลกและคติสอนใจ ได้บันทึกแผ่นเสียงออกเผยแพร่ จนได้รับการขนานนามว่า “ราชาแผ่นเสียงทองคำ” ได้รับเชิญเป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้ด้านหมอลำทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้อุทิศตนด้วยการใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการแสดงสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมและสังคมมาโดยตลอด 
คำประกาศเกียรติคุณ      นายเคน ดาหลา หรือที่รู้จักกันดีในหมู่คนอีสานว่า หมอลำเคน ฮุด เกิดเมื่อวันที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๗๓ ที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นศิลปินหมอลำอาวุโสของภาคอีสาน มีลีลาการลำและศิลปะการใช้น้ำเสียงเป็นที่ประทับใจคนฟังได้อย่างดียิ่งเป็นผู้มีปฏิภาณเป็นเลิศในเชิงกลอนลำสด มีคารมคมคาย ทั้งลำทางสั้น ลำทางยาว ลำเต้ยและลำเบ็ดเตล็ดอื่นๆ รวมถึงสำนวนผญาแบบอีสาน สำนวนกลอนนอกจากจะเฉียบคมลึกถึงใจผู้ฟังแล้วยังประกอบไปด้วยสาระที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ในบรรดาศิลปินหมอลำอาวุโสของภาคอีสานเป็นหมอลำชั้นครูและเป็นต้นแบบของการแต่งกลอนลำและลำแม่บทที่เรียกว่า “ลำแม่บท ๓๒ ท่า" ได้สมบูรณ์แบบที่สุด เป็นศิลปินผู้ได้รับการยอมรับในวงการหมอลำทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งยังได้ไปเผยแพร่ศิลปะแขนงนี้ในต่างประเทศและเป็นศิลปินผู้อุทิศตนเพื่อสังคมด้วยดีตลอดมา นายเคน ดาหลา จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๔  การศึกษา  ประถมศึกษาปีที่๔ โรงเรียนบ้านหนองเต่า รางวัล & เกียรติคุณ  ปีที่ได้รับ                         ชื่อรางวัล                                                             หน่วยงานที่มอบ ๒๕๓๑      ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ           สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ๒๕๓๔    รางวัล ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(หมอลำ)                     สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ๒๕๓๕    พระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติ




นายฉลาด ส่งเสริม(หมอลำ ป.ฉลาดน้อย)

ายฉลาด ส่งเสริม เกิดวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ อายุ ๖๕ ปี อยู่ที่บ้านหนองบ่อ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ได้เกี่ยวข้องกับการเป็นหมอลำเรื่องต่อกลอนเมื่ออายุ ๕๐ ปี และบิดาได้พาไปฝากเป็นศิษย์อาจารย์สุวรรณ ติ่งทอง ให้ฝึกลำกลอน (ลำทางสั้น) และคำคู่ ฝึกได้ ๔ เดือนไม่เกิดความชำนาญ เพราะต้องท่องกลอนยาวซึ่งยาวมาก จึงหยุดพักระยะหนึ่ง แล้วหันไปร้องหมอลำหมู่ที่บ้านหนองบ่อ กับคณะ ก.สำราญศิลป์ โดยมีอาจารย์กิ่ง ทิมา เป็นผู้ฝึกสอน พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้ตั้งวงเป็นของตนเองชื่อ คณะ ป.ฉลาดน้อยรุ่งเรืองศิลป์ และรับจ้างลำในงานประเพณีต่างๆ ตามที่เจ้าภาพว่าจ้างให้ลำ
ปัจจุบัน นายฉลาด ส่งเสริม ได้ใช้ชีวิตเรียบง่ายกับครอบครัว ยังสร้างผลงานทั้งทางด้านแต่งลำกลอน การแสดงหมอลำ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานวัฒธรรมท้องถิ่นอยู่อย่างต่อเนื่อง บำเพ็ญประโยชน์แก่สาธารณกุศล โดยอาศัยพรสวรรค์พิเศษของตนผสมผสานกับภาระหน้าที่ของสังคมก่อเกิดเป็นงานศิลปะเพื่อชุมชน
ผลงานการแสดง
พ.ศ. ๒๕๔๘ – ผลิตผลงานลำเรื่องต่อกลอนชุด “ดาวลูกไก่”เผยแพร่ในรูปแบบของวีซีดี เพื่อสื่อให้เห็นถึงคุณค่าของวรรณกรรมพื้นบ้าน สอนให้ทุกคนเสียสละและกตัญญูต่อบุพการี
– ผลิตผลงานภาพยนตร์ ชุด “เพลงรักบุญบั้งไฟ”เผยแพร่ในรูปแบบวีซีดี เพื่อสืบสานบุญประเพณีตามฮีต ๑๒ คลอง ๑๔ ให้ยืนยาวและผู้มานใจในจิตวิญญาณของคนอีสาน
ผลงานวิชาการ - เป็นผู้วางแนวคิดในการแต่งกลอนลำประกอบการแสดงลำเรื่องต่อกลอนทุกเรื่องที่แสดงประดิษฐ์ท่ารำ และบทร้องชุด นางนกกระยางขาว ท้าวก่ำกาดำ น้ำตาล สาวจีน โดยเฉพาะท่ารำนางนกกระยางขาวยังคงใช้เป็นท่าแม่แบบในการแสดง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือ “กางแขนเหมือนนกถลาบิน ซอยเท้าถี่รุกเร้า สนุกสนาน”


นายเปลื้อง ฉายรัศมี 

นายเปลื้อง ฉายรัศมี เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พุทธศักราช 2475 ที่ บ้านเลขที่ 7 บ้านนา ตำบลม่วงนา อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นบุตร ของนาย คง ฉายรัศมี และนางนาง ฉายรัศมี ปัจจุบันมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ 229/4 ถนนกาฬสินธุ์-สมเด็จ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จ.กาฬสินธุ์  
นายเปลื้อง ฉายรัศมี เข้ารับการศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เมื่ออายุ ได้ 8 ปี ที่โรงเรียน บ้านนาวิทยาคาร เมื่อพุทธศักราช 2484 จนจบชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4  
พุทธศักราช 2496 นายเปลื้องมีอายุได้ 21 ปี ได้เข้าบวชใน พระพุทธศาสนาเป็นเวลา 3 ป สอบได้นักธรรมชั้นตรี จึงลาสิกขาบท เพื่อประกอบ อาชีพเลี้ยงดูบิดามารดาและครอบครัว  
          นายเปลื้อง ฉายรัศมี มีนิสัยชอบดนตรีมาตั้งแต่เด็กและชอบเล่นอยู่คน เดียว เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่พ่อซื้อให้คือแคน ดังนั้นแคนจึงเป็นเครื่องดนตรีอีสาน ชิ้นแรกที่นายเปลื้อง ฉายรัศมี สามารถเล่นได้เป็นอย่างดี โดยการเรียนรู้วิธีการเป่า แคนมาจากนายทองดำ (ไม่ทราบนามสกุล) ซึ่งเป็นคนตาบอดอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน นายเปลื้อง ฉายรัศมี จึงไปแอบสังเกต วิธีการเป่าแคนของนายทองดำ โดยไม่ให้นาย ทองดำรู้ตัว เนื่องจากนายทองดำเป็นคนหวงวิชา ไม่ยอมถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ใด จนกระทั่งนายเปลื้อง ฉายรัศมี สามารถจดจำเทคนิคการเป่าแคนของนายทองดำได้ เป็นอย่างดี  
ส่วนการทำโปงลาง นายเปลื้อง ฉายรัศมี ได้รับการถ่ายทอดมาจากนาย ปาน กาญจน์ภิรมย์ นายปานเป็นลูกของท้าวพรหมโคตร ซึ่งอพยพมาจากประเทศ ลาวอยู่ ที่บ้านกลางหมื่น อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ และเล่าว่าท้าวพรหมโคตร เป็นผู้คิดทำเกราะลอขึ้น โดยเลียนแบบเกราะที่ใช้ตีตามหมู่บ้าน และถ่ายทอดการทำ เกราะลอให้แก่นายปาน กาญจน์ภิรมย์น้องชาย นายปานก็ถ่ายทอดการทำเกราะลอให้แก่ชาวบ้านทั่วไปที่บ้านกลางหมื่น แต่มีความรู้สึกต้องชะตากับนายเปลื้องมาก เป็นพิเศษ จึงได้สอนเทคนิคการทำเกราะลอ ให้แก่นายเปลื้อง ซึ่งเรียนวิธีการทำ และการตีโปงลางเป็นเวลา 1 ปี นายปานก็เสียชีวิต ดังนั้นนายเปลื้อง จึงได้สบทอด การทำเกราะลอและพัฒนาเกราะลอมาโดยตลอด และในปัจจุบันนี้เกราะลอ ได้มีชื่อ ใหม่ที่รู้จักกันแพร่หลายไปทั่วประเทศว่า โปงลาง  
ปีพุทธศักราช 2502-2510 นายเปลื้อง ฉายรัศมีได้เข้าทำงานเป็น ลูกจ้าง ชั่วคราวที่โครงการเขื่อนลำปาว ฝีมือในการตีเกราะลอหรือโปงลาง เป็นปัจจัย สำคัญที่มีส่วนให้ได้มีงานทำ ฝีมือการเล่นดนตรีพื้นบ้านอีสาน เป็นที่ยอมรับของ คนโดยทั่วไป รวมทั้งหน่วยงานของรัฐ ที่ต้องการคนมีฝีมือด้านดนตรีไว้เป็นสื่อคอย ประสานประชาสัมพันธ์ กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน ระหว่างราชการกับประชาชน  
ปีพุทธศักราช 2516 ได้สอบบรรจุเป็นลูกจ้างประจำอยู่ที่สำนักงานป่าไม้ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับเงินเดือนเดือนละ 750 บาท และได้ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมวง ดนตรีโปงลางกาฬสินธุ์ และเป็นผู้บรรเลงดนตรีโปงลางด้วย จนถึงปีพุทธศักราช 2519 จึงได้ลาออก  
ปีพุทธศักราช 2520 ได้เข้าทำงานที่สำนักงานชลประทานที่ 5 จังหวัด อุบลราชธานี ทำงานอยู่ได้ประมาณ 5-6 เดือน จึงได้ลาออกและได้เข้าทำงานใหม่ที่ อ่างห้วยเก็บน้ำขี้เหล็ก อำเภอนิคมคำสร้อย จึงหวัดนครพนมซึ่งในระหว่างนี้ได้เป็นผู้ จัดตั้ง วงดนตรีโปงลางขึ้นมา  
ปีพุทธศักราช 2521 ได้ไปทำงานอยู่ที่บ้านแพง อำเภอศรีสงคราม อำเภอ นาหว้า จังหวัดนครพนม เป็นหัวหน้าคุมคนงานการทำชลประทาน ถ้ามีงานการ แสดงก็จะไปรับวงดนตรีโปงลางที่นิยมคำสร้อยมาแสดง โดยนายเปลื้องมีหน้าที่ บรรเลงโปงลาง  
ปีพุทธศักราช 2524 ได้กลับมาทำงานที่กาฬสินธุ์ไปอยู่ที่บ้านนาคู บ้านแก อ่างห้วยขี้เหล็ก บ้านนาโพธิ์ศรี อ่างเก็บน้ำห้วยมโน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้จัดตั้งวงดนตรีโปงลางขึ้นมาใหม่ นายเปลื้อง มีหน้าที่บรรเลงโปงลางเป็นผู้ควบคุม วง และเป็นผู้ฝึกซ้อมการแสดงชุดต่าง ๆ ด้วยตนเอง   
 ปีพุทธศักราช 2525 วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ เปิดรับสมัครตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว เพื่อทำการสอนดนตรีพื้นเมืองอีสาน นาย เปลื้อง ฉายรัศมี ก็ได้รับการคัดเลือกให้เข้าเป็นอาจารย์สอนดนตรีพื้นเมือง โดย ทำหน้าที่สอนดนตรีอีสานทุกชนิด เช่น พิณ แคน โหวด โปงลาง กลอง เบส ด้วย ความขยันขันแข็งจน ลูกศิษย์สามารถปฏิบัติได้เป็นอย่างดี  
นายเปลื้อง ฉายรัศมี สอนดนตรีพื้นเมืองอีสาน ที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ กาฬสินธุ์ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2525 จนถึงปัจจุบันปีพุทธศักราช 2541 รวมระยะเวลาได้ 16 ปี และนายเปลื้อง ฉายรัศมี ได้รับการเชิดชูเกียรติ ยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติในปีพุทธศักราช 2529  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น