การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
การจัดทำโครงงาน เรื่อง “ ศิลปวัฒนธรรมการแสดงหมอลำ ”เพื่อให้ผู้เรียน หรือผู้ที่สนใจเกี่ยวกับ
ศิลปวัฒนธรรมการแสดงหมอลำซึ่งเป็นของชาวอีสานบ้านเรา ได้รู้จักและเข้าใจถึงหมอลำมากขึ้น โดยผู้จัดทำโครงงาน ได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและรวมรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ศิลปวัฒนธรรมการแสดงหมอลำซึ่งเป็นของชาวอีสานบ้านเรา ได้รู้จักและเข้าใจถึงหมอลำมากขึ้น โดยผู้จัดทำโครงงาน ได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและรวมรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
2.1 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
หมอลำอีสาน “ลำ” สามารถมองออกได้ในสองลักษณะเพื่อหาความหมายคือ แสดงออกเป็นกิริยา หมายถึงการขับร้อง คือ การนำเอาเรื่องราวในวรรณคดีมาขับร้องเป็น บทกลอนทำนองทีเป็นภาษาอีสาน แสดงออกเป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเรื่องของการขับร้องหรือการแสดงที่เป็นเรื่องราว”หมอลำ” หมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญในการขับร้องวรรณคดีอีสาน โดยการท่องจำเอากลอน มาขับร้อง หรือผู้ที่ชำนาญในการเล่านิทานหลาย ๆ เรื่อง (ที่มา: http://www.baanmaha.com)
หมอลำอีสาน “ลำ” สามารถมองออกได้ในสองลักษณะเพื่อหาความหมายคือ แสดงออกเป็นกิริยา หมายถึงการขับร้อง คือ การนำเอาเรื่องราวในวรรณคดีมาขับร้องเป็น บทกลอนทำนองทีเป็นภาษาอีสาน แสดงออกเป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเรื่องของการขับร้องหรือการแสดงที่เป็นเรื่องราว”หมอลำ” หมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญในการขับร้องวรรณคดีอีสาน โดยการท่องจำเอากลอน มาขับร้อง หรือผู้ที่ชำนาญในการเล่านิทานหลาย ๆ เรื่อง (ที่มา: http://www.baanmaha.com)
วิวัฒนาการของหมอลำ
เดิมทีสมัยโบราณในภาคอีสานเวลาค่ำเสร็จจากกิจธุรการงานมักจะมาจับกลุ่มพูดคุยกัน
กับผู้เฒ่าผู้แก่เพื่อคุยปัญหาสารทุกข์สุกดิบและผู้เฒ่าผู้แก่นิยมเล่านิทานให้ลูกหลานฟัง
นิทานที่นำมาเล่าเกี่ยวกับจารีตประเพณีและศีลธรรม
ทีแรกนั่งเล่าเมื่อลูกหลานมาฟังกันมากจะนั่งเล่าไม่เหมาะ ต้องยืนขึ้นเล่า
เรื่องที่นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่มีในวรรณคดี เช่น เรื่องกาฬเกษ สินชัย เป็นต้น
ผู้เล่าเพียงแต่เล่า ไม่ออกท่าออกทางก็ไม่สนุกผู้เล่า
จึงจำเป็นต้องยกไม้ยกมือแสดงท่าทางเป็นพระเอกนางเอก เป็นนักรบ เป็นต้น
เพียงแต่เล่าอย่างเดียวไม่สนุก จึงจำเป็นต้องใช้สำเนียงสั้นยาว ใช้เสียงสูงต่ำ
ประกอบ และหาเครื่องดนตรีประกอบ เช่น ซุง ซอ ปี่ แคน
เพื่อให้เกิดความสนุกครึกครื้น
ผู้แสดงมีเพียงแต่ผู้ชายอย่างเดียวดูไม่มีรสชาติเผ็ดมัน จึงจำเป็นต้องหา
ผู้หญิงมาแสดงประกอบ เมื่อ ผู้หญิงมาแสดงประกอบจึงเป็นการลำแบบสมบูรณ์
เมื่อผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องต่าง ๆ ก็ตามมา เช่น เรื่องเกี้ยวพาราสี
เรื่องชิงดีชิงเด่นยาด (แย่ง) ชู้ยาดผัวกัน เรื่องโจทย์ เรื่องแก้ เรื่องประชัน
ขันท้า เรื่องตลกโปกฮาก็ตามมา จึงเป็นการลำสมบูรณ์แบบ
จากการมีหมอลำชายเพียงคนเดียวค่อย ๆ พัฒนาต่อมาจนมีหมอลำฝ่ายหญิง มีเครื่อง
ดนตรีประกอบจังหวะเพื่อความสนุกสนาน
จนกระทั่งเพิ่มผู้แสดงให้มีจำนวนเท่ากับตัวละครใน เรื่อง มีพระเอก นางเอก
ตัวโกงตัวตลก เสนา ครบถ้วน(ที่มา: http://www.baanmaha.com)
2.2 เนื้อหา
ความเป็นมาของหมอลำ การลำนับเป็นการแสดงพื้นเมืองของภาคอีสานที่มีการวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และได้รับความนิยมมากทุกยุคทุกสมัย เริ่มจากการลำพื้นเมือง ซึ่งได้แก่ การนำเนื้อหาของนิทานพื้นบ้าน เช่น การะเกด สินไช นางแตงอ่อน
ลำโดยใช้หมอลำ 1 คน และหมอแคน 1 คน
ผู้ลำ สมมติคนเป็นตัวละครทุกตัว ในเรื่องและลำตลอดคืน
การลำพื้นเป็นต้นกำเนิดของการลำทุกประเภท ต่อมาลำพื้น
ได้
วิวัฒนาการมาเป็นการลำคู่ ซึ่งได้แก่ การลำ 2 คน ชายกับชาย หรือ ชายกับหญิง จนประมาณปี พ.ศ.2494 การลำระหว่างชายกับชายจึงเลิกไป
เหลือระหว่างการลำชายกับหญิงมาจนถึงปัจจุบัน หมอลำคู่ที่มีชื่อเสียงรุ่นแรกๆ
ได้แก่ หมอลำคูณ (ชาย) และหมอลำจอมศรี (หญิง)
ชาวอุบลราชธานีนอกจากนี้ยังมีหมอลำทองมาก จันทะลือ (หมอลำถูทาชาย) หมอเคน ดาหลา (ชาย) เป็นต้น
การลำได้วิวัฒนาการต่อมาอีกจากการลำ 2
– 3 คน กลายมาเป็นการลำหลาย
ๆ คน เรียกว่า
“หมอลำหมู่” ซึ่งมีประมาณ 10 กว่าคน เป็นการลำตามเรื่องราวอาจใช้นิทานพื้นบ้านหรือชาดกเป็นเนื้อเรื่อง ลีลาการลำมีหลายแบบ อาทิ ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน เป็นต้น
“หมอลำหมู่” ซึ่งมีประมาณ 10 กว่าคน เป็นการลำตามเรื่องราวอาจใช้นิทานพื้นบ้านหรือชาดกเป็นเนื้อเรื่อง ลีลาการลำมีหลายแบบ อาทิ ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน เป็นต้น
คณะหมอลำหมู่ชื่อเสียง ได้แก่ รังสิมันต์
ซึ่งเป็นคณะหมอลำของชาวจังหวัดอุบลราชธานี มีชื่อเสียงมากระหว่างปี พ.ศ. 2506 – 2510
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น